การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( Product Development) ยุคใหม่ ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ?
พัฒนาผลิตภัณฑ์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( Product Development ) เป็นกระบวนการจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ เนื้อหาบางส่วนในบทความนี้สรุปจากการบรรยายโดย วิทยากร อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ในโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการค้าออนไลน์ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ
โดยผู้เข้าอบรม เป็น บุคลากรสังกัดสำนักงาน กศน. (4 รุ่น) รวม 160 คน โดยเน้นเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรม ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ และ การฝึกปฏิบัติใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจน สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับบุคลากรในหน่วยงาน และ เป็น วิทยากรแกนนำ ของสำนักงาน กศน. ในแต่ละจังหวัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การสร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติใหม่ หรือ ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป ซึ่ง มีส่วนเพิ่มเติม หรือ สามารถสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ โดย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นั้น มีความเกี่ยวพัน และ หมายถึง การแก้ไข เปลี่ยนแปลง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ทั้งในด้าน รูปลักษณ์ การนำเสนอ และ สูตรการทำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือ เป็นที่น่าพึงพอใจต่อความต้องการของตลาด
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ Product Development ในอดีต ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัวอย่างในปัจจุบัน มีแนวความคิดที่ว่า
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในอดีต มักจะประกอบด้วย 8 กระบวนการ เพื่อนำไปสู่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าตอบโจทย์ต่อลูกค้า ดังนี้
1. กลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่
นักนวัตกร จะมีการกำหนดออกมาอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่จะสร้างสรรค์ออกมานี้ จะมีแนวทางเป็นอย่างไร
2. สร้างสรรค์ไอเดีย
เริ่มด้วยการระดมสมองและความคิด ออกมาเป็นไอเดียต่างๆ ทั้งจาก บุคลากรในองค์กรเอง หรือ บุคลากรองค์กรที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยภายนอกอื่นๆ
3. คัดกรอง
ทำให้ไอเดียที่ระดมสมองกันมาแล้ว เข้มข้น และ ชัดเจน จนเหลือตัวเลือกให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
4. ทดสอบแนวคิด
วางรูปแบบของไอเดียให้มีโครงสร้างและรายละเอียด ที่สามารถ รับรู้ เห็นภาพ และ เข้าใจถูกต้องตรงกันได้
5. วิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ
ทำความเข้าใจเรื่องของ ต้นทุน และ กำไร จากผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ รวมถึง ตัดสินใจ ว่าจะต้อง แบ่งงาน หรือ ขอความช่วยเหลือ จากหน่วยงานอื่นใดบ้าง
6. พัฒนาผลิตภัณฑ์
ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาให้ใช้งานได้จริง
7. ทดสอบตลาด
ทดสอบด้วยหลักการ ส่วนประสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix ที่ประกอบด้วย Product Price Place Promotion และ ทดลองดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและธุรกิจของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้
8. โฆษณาและประชาสัมพันธ์
นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกสู่ตลาด พื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
แต่ใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ ที่เป็นยุคดิจิทัลและมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ธุรกิจ ที่เรียกว่า Tech Startup เป็นผู้นำในเรื่องของ แนวทางปฏิบัติใน การการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยุคดิจิทัล หรือ Product Development Framework ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ มีการทำงานที่กระชับและสามารถวัดผลได้รวดเร็ว กว่าที่จะต้องรอให้ตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จและลงทุนไปมาก แต่สุดท้ายกลับต้องล้มเหลว
ดังนั้น ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ สมัยใหม่ นี้ จึงอ้างอิงไปถึง ลำดับขั้นต่างๆ เพื่อจะสามารถเปลี่ยนแปลงจากไอเดีย ในอากาศ หรือ ในกระดาษ ให้ออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัย รูปแบบของการทำงาน ดังนี้
1. กำหนดและตรวจสอบความต้องการในตลาด (product/market fit)
2. วางแนวความคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น
3. สร้างแผนการดำเนินงานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่สามารถทำออกมาให้ใช้งานจริงได้และง่ายที่สุด หรือ ชื่อที่รู้จักกันในกลุ่มนักพัฒนา คือ Minimum Viable Product หรือ MVP (เอ็มวีพี)
5. ปล่อยผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ง่ายที่สุดนี้ (MVP) ออกไปเพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดสอบ
6. ปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยยึดจากผลตอบรับโดยตรงจากผู้ใช้
จากแนวทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่นี้ จะเห็นได้ว่า มีความคล่องตัวสูง และ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่สามารถให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แบบทุกอย่าง จากนั้น จึงค่อยกลับมาพัฒนาเพิ่มเติม เสริมต่อ เรื่อยๆ จนสามารถตอบโจทย์ลูกค้าและเข้าถึงตลาดเป้าหมายได้ในที่สุด
ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่นี้ จะแตกต่างโดยสิ้นเชิง จากรูปแบบเดิมๆ รวมถึง ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ใช่การบริหารจัดการตัวผลิตภัณฑ์ ดังนั้น เมื่อเราสามารถทำความเข้าใจได้ในลักษณะนี้แล้ว เราก็จะหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการนำแนวความคิดที่จะบริหารจัดการตัวผลิตภัณฑ์มาผสมปนเปจนทำให้ได้ผลลัพธ์ผิดเพี้ยนไปหรือแม้กระทั่งเกิดการขาดทุนและเสียหายต่อธุรกิจอย่างรุนแรง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยุคใหม่นี้ มีแนวทางซึ่งสามารถ นำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาตัวสินค้า ให้ออกมาตอบโจทย์ลูกค้า และ เข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างชัดเจน และ สามารถใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จริง ได้ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็น สินค้านวัตกรรม (Innovation) สินค้าเทคโนโลยี หรือ แอพฯ (Application) ต่างๆในมือถือ และ สามารถใช้แนวทางและหลักการเดียวกันนี้ ในการนำไปประยุกต์ใช้ กับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าโอทอป (OTOP) หรือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นพื้นบ้าน ได้เช่นเดียวกัน
คุณสามารถรับชม ตัวอย่างการบรรยายในหัวข้อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของ วิทยากรอาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ในโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ ของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้กับ วิทยากรแกนนำของสำนักงาน กศน. ในจังหวัดต่างๆ ได้ในคลิปวิดีโอ ด้านล่างนี้
ติดต่อ วิทยากร อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ทักไลน์ไปที่ @brandingchamp โทร. O63-l979894 หรือ O9O-2393987